หุ้นกู้คืออะไร?

เกี่ยวกับหุ้นกู้

ว่ากันด้วยเรื่องของ “การหาเงิน” หลายช่องทางนั้น…เป็นอะไรที่ใครหลายๆ คนต่างกันกำลังมองหาและอยากที่จะหาเงินจากงานเหล่านั้นทำกันอย่างแน่นอนครับ เพราะเงินสำคัญกับเราเป็นอย่างมากเลยหล่ะครับ วันนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับ “หุ้นกู้คืออะไร?” ที่น่าสนใจกันสักหน่อยครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!!!
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “หุ้นกู้”

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ หุ้นกู้

หุ้นกู้ คือ “ตราสารหนี้” ที่ออกโดยภาคเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนสำหรับใช้ในกิจการต่างๆ ของบริษัท เช่น เพื่อการลงทุนขยายกิจการ ซื้ออุปกรณ์ หรือเพื่อก่อสรา้งโรงงาน เป็นต้น หุ้นกู้สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยๆ แต่ละหน่วยมีมูลค่าเท่าๆ กัน ในประเทศไทยการออกหุ้นกู้โดยทั่วไปมักจะกำหนดมูลค่าหน่วยละ 1000 บาท

เมื่อท่านซื้อหุ้นกู้ ก็หมายความว่า ท่านให้เงินกู้กับบริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นๆ หรืออาจจะแปลได้อีกความหมายก็คือ ท่านจะอยู่ในสถานะของ “เจ้าหนี้” และบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้น จะอยู่ในสถานะ “ลูกหนี้” ของท่าน โดยที่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นให้คำสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันตลอดช่วงอายุของหุ้นกู้ และจะชำระเงินต้นคืน ณ วันครบกำหนดอายุของหุ้นกู้แตกต่างจากหุ้นสามัญ ที่เมื่อท่านซื้อหุ้นสามัญไปแล้วท่านจะอยู่ในสถานะของ “เจ้าของ” ของบริษัทที่ออกหุ้นสามัญนั้นๆ สัดส่วนความเป็นเจ้าของของท่านก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นสามัญที่ท่านถืออยู่ ทั้งนี้ การอยู่ในสถานะของการเป็นเจ้าของนั้น ทำให้ท่านต้องร่วมรับผิดชอบในหนี้สินของบริษัทนั้นๆ ด้วย

โดยทั่วไปแล้ว การจ่ายดอกเบี้ยจะจ่ายปีละ 2 ครั้ง หรือทุกๆ 6 เดือน แต่สำหรับหุ้นกู้บางรุ่น อาจจ่ายปีละ 4 ครั้ง หรือทุกๆ 3 เดือน ก็ได้ ทั้งนี้ ในปัจจุบันดอกเบี้ยได้รับต้องเสียภาษีรายได้เช่นเดียวกับรายได้ดอกเบี้ยชนิดอื่นๆ สำหรับอายุของหุ้นกู้ มักจะกำหนดเป็นจำนวนปี เช่น อายุ 3 ปี 5 ปี 7 ปี 10 ปี หรือตามแต่ที่กำหนด

หุ้นกู้แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Bond หรือ Junior Bond) ในกรณีที่ผู้ออกตราสารล้มละลาย ผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิในการเรียกร้องสินทรัพย์จากผู้ออกตราสาร ในอันดับที่ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญรายอื่น แต่จะสูงกว่าผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญซึ่งมีสิทธิเรียกร้องเป็นอันดับสุดท้าย

หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (Senior Bond) ผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิในการเรียกร้องสินทรัพย์จากผู้ออกตราสาร ทัดเทียมกับเจ้าหนี้สามัญรายอื่น ๆ และสูงกว่าผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิและผู้ถือหุ้นสามัญตามลำดับ

หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible bond) เป็นตราสารหนี้ที่นักลงทุนสามารถเปลี่ยนจากหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทผู้ออกได้ตามราคาที่กำหนด โดยบริษัทผู้ออกจะออกหุ้นสามัญในจำนวนที่มีมูลค่าเท่ากับตราสารหนี้ที่ถืออยู่   สถานะของนักลงทุนจึงเปลี่ยนจากเจ้าหนี้เป็นเจ้าของ และด้วยสถานะการเป็นเจ้าของ จึงทำให้นักลงทุนมีโอกาสได้รับกำไรจากส่วนต่างราคาซื้อและราคาขาย (Capital Gain) หากราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น แต่หากราคาหุ้นในตลาดยังคงต่ำกว่าราคาที่กำหนดไว้ในการแปลงสภาพ นักลงทุนก็สามารถเลือกที่จะไม่แปลงสภาพเป็นหุ้น และถือเป็นตราสารหนี้ต่อไปเพื่อรับดอกเบี้ยแต่ละงวดตามที่กำหนดไว้ (ซึ่งจะต่ำกว่าหุ้นกู้ปกติของผู้ออกเดียวกัน) และรับเงินต้นคืนที่ราคาพาร์ ณ วันหมดอายุ

หุ้นกู้ชนิดมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Secured Bond) คือ หุ้นกู้ที่ผู้ออกตราสาร นำสินทรัพย์มาค้ำประกันการออกหุ้นกู้ และผู้ถือจะมีสิทธิเต็มที่ในสินทรัพย์ที่วางเป็นประกันนั้นเหนือเจ้าหนี้สามัญรายอื่นๆ  โดยปกติในทางปฏิบัติมักจะมีการตั้งบุคคลทำหน้าที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (Bond Holder Representative) เพื่อทำการตรวจสอบสถานะของสินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน

หุ้นกู้ชนิดที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Unsecured Bond) คือ หุ้นกู้ที่ไม่มีสินทรัพย์ใดๆ วางไว้เป็นประกันในการออก ซึ่งหากผู้ออกตราสารล้มละลายต้องทำการแบ่งสินทรัพย์กับเจ้าหนี้รายอื่นตามสิทธิและสัดส่วน

โอ้โหวข้อมูลเยอะๆ มากๆ เลยใช่มั้ยหล่ะครับ หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้ความรู้เพิ่มเติมกันไปบ้างนะครับ สุดท้ายนี้ ทุกการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ ดังนั้นต้องศึกษาและวางแผนทางการเงินให้ดีกันนะครับ

Back To Top